วิธีสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา (Content and Language Integrated Learning: CLIL)
วิธีสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา
(Content and Language Integrated Learning: CLIL)
วิธีสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหามีพื้นฐานแนวคิดมาจากการศึกษาสองภาษา
(Bilingual education) เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ใช้สองภาษาเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน
(Mcgroarty. 1998)
ลักษณะของโปรแกรมจึงนิยมแยกออกเป็นโปรแกรมระดับประถมศึกษา
มัธยมศึกษาและหลังมัธยมศึกษา ดังนี้
1.1 โปรแกรมสองภาษาระดับประถมศึกษา แบ่งได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1.1.1 โปรแกรมเปลี่ยนผ่าน (early-exit
or transitional bilingual education program)
ความมุ่งหมายของโปรแกรมเพื่อให้ผู้เรียนใช้ทั้งสองภาษาคือ ภาษาที่หนึ่งและภาษาใหม่
(ภาษาที่สอง) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระยะเวลาของโปรแกรมประมาณ 1-3 ปี
โดยเริ่มที่ระดับอนุบาลจนถึงเกรด 1
1.1.2
โปรแกรมระดับพัฒนา (late-exit or maintenance or develop
mental bilingual program) เป้าหมายของโปรแกรม
เพื่อให้ความรู้ด้านเนื้อหาวิชาต่างๆทั้งภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สอง
ลักษณะเด่นของโปรแกรมคือการยังคงไว้ของการเรียนภาษาที่หนึ่ง
1.1.3
โปรแกรมการเรียนภาษาที่สองเหมือนภาษาที่หนึ่ง เรียกว่า “immersion
program” โปรแกรมนี้เริ่มครั้งแรกที่แคนาดา เป็นการเรียนสองภาษา
ภาษาที่หนึ่งคือ ภาษาของตัวเอง และภาษาที่สองคือ
ภาษาของกลุ่มใหญ่หรือภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศนั้น
1.2 โปรแกรมสองภาษาระดับมัธยมศึกษา
ลักษณะของโปรแกรมสองภาษาในระดับมัธยมขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน
แต่มีจุดร่วมกันคือการเรียนในระดับนี้เน้นการสอนเนื้อหาวิชามากขึ้น
1.3 โปรแกรมสองภาษาระดับหลังมัธยมศึกษา
โปรแกรมนี้จัดให้กับผู้เรียนที่พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
ซึ่งมีความหลากหลายมากกว่าระดับมัธยม
ปัจจัยสำคัญในการจัดโปรแกรมการศึกษาสองภาษาคือผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถอย่างน้อย
1 ภาษา
และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ในด้านเนื้อหาวิชา
2. ความเป็นมา
คำว่า
“การบูรณาการและเนื้อหา” ถูกนิยามขึ้นในปี ค.ศ. 1994 โดยมหาวิทยาลัย Jyvaskyla ในประเทศเนเธอแลนด์
เพื่ออธิบายวิธีการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งโดยการใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อ
เพื่อจุดมุ่งหมายสองประการคือ
เรียนรู้เนื้อหาและในขณะเดียวกันก็เรียนรู้ภาษาต่างประเทศไปด้วย
มาร์ช
(Marsh. 2003 : Web Site)
กล่าวถึงความเป็นมาของวิธีการสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหาไว้ว่า ประมาณ ค.ศ. 1950 การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศส่วนมากใช้วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปล
ต่อมาในปี 1960 การเรียนการสอนยึดพื้นฐานของจิตวิทยาการเรียนรู้
และในปี 1970
มีบางสถาบันได้เริ่มใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อการเรียนเนื้อวิชาอื่นแทนที่จะสอนภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างเดียว
3. ความหมาย
“การเรียนรู้แบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา
เป็นการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอื่นๆที่ไม่ใช่ภาษาตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ
จนรู้สึกว่าตนเองไม่ได้เรียนภาษาแต่กำลังใช้ภาษาในการแสวงหาความรู้ในเรื่องที่กำลังเรียน
ซึ่งการเรียนรู้แบบบูรณาการภาษาและเนื้อหาสามารถจัดในชั่วโมงเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งโดยมีจุดมุ่งหมายสองอย่างคือ
พัฒนาภาษาและเนื้อหาวิชานั้นๆ ซึ่งบางครั้งเรียกวิธีการสอนแบบนี้ว่าการศึกษาที่เน้นสองทาง
(dual-focused education)”
(Marsh.2003 : Web Site)
การเรียนรู้แบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา
หมายถึง การศึกษาสองภาษาหรือหลายภาษา (bilingual or multilingual education)
การเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษามีความหมายกว้างขวางครอบคลุมไปถึงวิธีการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหา
(content-based instruction - CBI) และ immersion
program ที่ใช้ภาษาต่างประเทศในการสอนเนื้อหาวิชาต่างๆ(Coonan.
2003 : Web Site)
4. เป้าหมาย
The
National Centre for Languages (n.d. : Web Site) กล่าวถึงจุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมตามวิธีการสอนภาษาแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษาต้องการให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์
4 ประการ ดังนี้
1.เนื้อหา (content) หมายถึง ความก้าวหน้าทางด้านความรู้
ทักษะและความเข้าใจวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2.การสื่อสาร (communication) ภาษาที่ผู้สอนใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษา
3.ความรู้ (cognitive) ความเข้าใจในเนื้อหาและภาษา
4.วัฒนธรรม (culture)
การเรียนรู้ความคิดเห็นและความรู้ที่หลากหลายอันจะนำไปสู่ความเข้าใจตนเองและผู้อื่น
5. ผู้สอน
ผู้สอนอาจเป็นนักภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาและไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหา
หรืออาจเป็นครูที่เป็นเจ้าของภาษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหาสามารถสอนคนเดียวและสอนเป็นทีมแล้วแต่ความเหมาะสม
วิชาที่บูรณาการกับภาษาซึ่งอาจไม่มีผู้สอนที่มีคุณสมบัติดังกล่าว การแก้ปัญหาอาจทำได้
ดังนี้
5.1 การสอนเป็นทีม (team teaching) ทำได้โดยในหนึ่งรายวิชาใช้ครูผู้สอน 2 คน คือ ครูสอนภาษา (language
teacher) และครูสอนเนื้อหา (content teacher)
โดยแบ่งหน้าที่กันชัดเจน
5.2 การสอนโดยครูสอนภาษาที่สอง การแก้ปัญหาวิธีนี้ทำได้โดยการเตรียมครูที่สอนภาษาที่สอง
โดยให้ครูที่จะสอนลงทะเบียนเรียนวิธีสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา
และเนื้อหาวิชาที่จะสอนเพิ่มเติม
6. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โมฮัน
(Mohan. 1986) กล่าวว่า
วิธีการสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหาเป็นที่นิยมโดยเฉพาะประเทศที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
เพราะเปิดโอกาสให้โรงเรียนได้เชื่อมโยงภาษาต่างประเทศที่เรียนกับวิชาต่างๆ
ทำให้ผู้เรียนได้เรียนภาษาและเนื้อหาวิชาไปพร้อมๆกัน
6.1 ขั้นตอนวางแผนการสอน
สิ่งทีสำคัญเมื่อจัดทำแผนการสอนคือ
ต้องคำนึงถึงความต้องการ ระดับความรู้ และพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน
6.1.1
การศึกษาบรรยากาศของห้องเรียนที่ใช้หลักสูตรปกติ
6.1.2
วางแผนบูรณาการเนื้อหาวิชาที่ผู้สอนและผู้เรียนสนใจนำมาทดลองแล้วทำการวิจัยเพื่อดูผลการปฏิบัติ
6.1.3
ออกแบบกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจ
6.2 วิธีจัดกิจกรรม
แครนดอล
(Crandall. 1994 : Web Site)
ผู้สอนสามารถใช้กลวิธีและเทคนิคที่หลากลายในการจัดกิจกรรม ในที่นี้จะกล่าวถึง 4 กลวิธี ดังนี้
6.2.1
การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ (cooperative learning/grouping
strategy) เน้นความร่วมมือในกลุ่ม
ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มทำงานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสามารถทางภาษา
6.2.2
การเรียนรู้โดยให้งานหรือการปฏิบัติทดลอง (task-based or
experimental learning)
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการคิดควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะภาษาและวิชาการ
6.2.3
มหภาษา (whole language) เน้นการใช้ภาษาที่มีความหมายและใช้ภาษาในสภาพจริง
(authentic language)
และทั้งการสอนเนื้อหาวิชาและภาษาต่างมุ่งพัฒนาทั้ง 4 ทักษะ
กลวิธีนี้นิยมใช้กิจกรรมการเขียนอนุทินโต้ตอบ (dialogue journal)
7. ข้อดี
การสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหาค่อนข้างยากสำหรับผู้เรียนในระยะแรกแต่เมื่อผู้เรียนคุ้นเคยแล้วก็จะสามารถเรียนรู้เนื้อหาและภาษาได้รวดเร็วกว่าการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ
นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับวิชาต่างๆในหลักสูตรโดยผู้สอนใช้สื่อจริง (authentic material) ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้นและเพิ่มความสามารถของผู้เยนมนการถ่ายโอนระหว่างภาษาต่างประเทศและวิชาอื่นๆ
8. ข้อเสนอแนะ
วิธีการสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา
มุ่งเน้นด้านเนื้อหาวิชาเป็นหลักแต่ไม่ใช่การยึดตำราเรียนและการเรียนรู้ศัพท์ในตำราเล่มใดเล่มหนึ่ง
การจัดกิจกรรมการเรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาจากสื่อจริงโดยไม่ดัดแปลงตำราเรียนแต่อย่างใด
แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงระดับความสามารถของผู้เรียนเป็นหลักในการเลือกบทเรียนและสื่อการเรียนรู้ต่างๆจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน
นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนอีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น