Learning strategy
Learning strategy
กลวิธีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Rebecca L. Oxford มีความเหมาะสมที่สามารถนำมาใช้กับการเรียนรู้ภาษาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาที่สอง
หรือไม่ใช่ภาษาแรกของผู้เรียน
Rebecca L Oxford ได้แบ่งประเภทของกลวิธีการเรียนรู้ภาษาออกเป็น
2 ประเภทใหญ่ๆ คือ กลวิธีการเรียนรู้โดยตรง (Direct
Strategies) และกลวิธีการเรียนรู้โดยอ้อม (Indirect
Strategies)
1.
กลวิธีการเรียนรู้โดยตรง หมายถึง กลวิธีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเป้าหมายที่ผู้เรียนเรียนประกอบด้วยกลวิธีประเภทต่างๆดังนี้
1.1.
กลวิธีการจำ (Memory Strategy) เกี่ยวข้องกับกลไกทางสมองที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเก็บข้อมูลความรู้ไว้
และนำออกมาใช้เมื่อต้องการ ประกอบด้วยกลวิธีย่อย 4 กลวิธี ดังนี้
1.1.1.1. กลวิธีการใช้ภาพและเสียง (Applying Images and
Sound) เป็นวิธีที่ช่วยให้เกิดความจำอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้วิธีการต่างๆเพื่อช่วยความจำ
1.1.1.2. กลวิธีการทบทวนอย่างดี (Reviewing Well) เป็นกลวิธีที่เสริมสร้างความจำสิ่งใหม่
1.2.
กลวิธีการใช้ท่าทาง (Employing Action) เป็นกลวิธีที่ใช้การกระทำเพื่อให้เกิดการจำ
1.3.
กลวิธีด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Strategies) หมายถึงกลวิธีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสมอง แบ่งออกเป็นกลวิธีย่อย
4 กลวิธี ดังนี้
1.3.1. กลวิธีการฝึกปฏิบัติ (Practicing) เป็นกลวิธีพื้นฐานในด้านการเรียนรู้ทางด้านปัญญา ได้แก่ การกระทำซ้ำๆ การฝึกพูดและเขียนอย่างเป็นระบบ
การจำรูปแบบประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.3.2. กลวิธีการรับและการส่งสาร (Receiving and Sending
Message)
1.3.3. การวิเคราะห์และการใช้เหตุผล (Analysis and Reasoning)
เป็นกลวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น ได้แก่ กลวิธีย่อยๆ
5 กลวิธี คือ การใช้เหตุผลเชิงนิรนัย หรือการใช้เหตุผลในเรื่องเฉพาะ
การวิเคราะห์ข้อความและคำพูด การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ การแปล และการถ่ายโอนความรู้
1.4.
กลวิธีการเสริมและการทดแทน (Compensation Strategies) เป็นกลวิธีที่ผู้เรียนใช้เมื่อมีความรู้ขึ้นใหม่ ซึ่งประกอบด้วย กลวิธีย่อย
2 กลวิธี ดังนี้
1.4.1. กลวิธีการเดาอย่างชาญฉลาด (Guessing Intelligently)
เป็นกลวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียน โดยใช้การเดาอย่างมีหลักการ
2.
การเอาชนะข้อจำกัดในการพูดและการเขียน
(Overcoming Limitation in Speaking and Writing) เป็นกลวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถ
สนทนาหรือเขียนได้ดีขึ้น
3.
กลวิธีการเรียนโดยทางอ้อม หมายถึง กลวิธีที่ผู้เรียนใช้ในการส่งเสริมและควบคุมกระบวนการเรียนของตนเอง
4.
การสร้างแบบหรือโครงสร้างของสารที่รับและส่งขึ้นมาใหม่ (Creating structure for
input and output)
4.1.
กลวิธีที่ใช้อภิปัญญา (Metacognative Strategies) หมายถึงกลวิธีที่ผู้เรียนใช้ในการเรียนเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประกอบด้วยกลวิธีย่อยๆ 3 กลวิธี ดังนี้
4.1.1. กลวิธีมุ่งความสนใจสู่การเรียนรู้ (Centering Your
Learning) เป็นกลวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในบทเรียน
4.1.2.
กลวิธีการจัดระเบียบและการวางแผนการเรียนรู้ (Arranging and Planning
Your Learning) ได้แก่ การค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษา
การจัดสภาพการณ์ต่างๆ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้
4.1.3.
กลวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluating Your Learning)
4.2.
กลวิธีเชิงวิภาพ หรือด้านจิตพิสัย (Affective Strategies) เป็นกลวิธีที่ผู้เรียนใช้เพื่อควบคุมอารมณ์และความรู้สึก เพื่อให้ส่งเสริมการเรียนรู้
ประกอบด้วยกลวิธีสำคัญ 3 กลวิธี คือ
4.2.1. กลวิธีการลดความวิตกกังวล (Lowering Your Anxiety) กลวิธีนี้จะช่วยลดความเครียด ความกังวลในการเรียน
4.2.2. กลวิธีการให้กำลังใจตัวเอง (Encouraging Yourself) เป็นกลวิธีที่ผู้เรียนใช้เมื่อรู้สึกท้อถอยในการเรียน
4.2.3. กลวิธีการดูแลอารมณ์ตัวเอง (Taking Your Emotional
Temperature) เป็นกลวิธีที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของผู้เรียน ไม่ให้เกิดความรู้สึกที่ส่งผลทางลบต่อการเรียนรู้ภาษา
4.3.
กลวิธีด้านสังคม (Social Strategies) เป็นกลวิธีที่ผู้เรียนใช้เมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
ประกอบด้วยกลวิธีสำคัญ 2 กลวิธี ดังนี้
4.3.1. กลวิธีการตั้งคำถาม (Asking Question) ได้แก่การถามเพื่อความกระจ่าง และ การถามเพื่อการแก้ไข
4.3.2. กลวิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Empathizing with
others)
กลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง
การฟังเป็นทักษะที่สำคัญที่จะ นำไปสู่ทักษะการพูด การอ่าน การเขียน
การฟังมี 2ระดับ คือ ระดับต้น เน้นการฟังเสียงคำ วลี และสามารถอ่านได้ถูกต้อง
และระดับที่สอง คือ การฟังประโยค เรื่องราว เพื่อความเข้าใจ
ซึ่งทั้งสองระดับต้องให้ความสำคัญ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
-
เทคนิควิธีปฏิบัติ
กิจกรรมที่จะทำไปสู่การฟังให้เกิดทักษะ และได้ข้อมูลครบถ้วนตรงกับที่ต้องการจะสื่อนั้น ผู้ฟังต้องมีความรู้พื้นฐาน ภูมิหลังและความคาดหวังล่วงหน้าอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมก่อนการสอนฟัง
- เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอน เช่นของจริง บัตรคำ บัตรภาพ เทปบันทึกเสียง
- ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ใหม่
- เสนอศัพท์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะสอน โดยใช้อุปกรณ์ประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
2. กิจกรรมระหว่างสอน
- เน้นการฟังให้มากที่สุด อย่าให้ผู้เรียนเขียนมาก หรืออ่านข้อความเพื่อตอบคำถามจากการฟัง เพราะนักเรียนจะไปสนใจในสิ่งอื่น ๆ
กิจกรรมที่จะทำไปสู่การฟังให้เกิดทักษะ และได้ข้อมูลครบถ้วนตรงกับที่ต้องการจะสื่อนั้น ผู้ฟังต้องมีความรู้พื้นฐาน ภูมิหลังและความคาดหวังล่วงหน้าอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งครูผู้สอนได้จัดกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมก่อนการสอนฟัง
- เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอน เช่นของจริง บัตรคำ บัตรภาพ เทปบันทึกเสียง
- ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ใหม่
- เสนอศัพท์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะสอน โดยใช้อุปกรณ์ประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
2. กิจกรรมระหว่างสอน
- เน้นการฟังให้มากที่สุด อย่าให้ผู้เรียนเขียนมาก หรืออ่านข้อความเพื่อตอบคำถามจากการฟัง เพราะนักเรียนจะไปสนใจในสิ่งอื่น ๆ
3. กิจกรรมหลังการฟัง
- ให้นักเรียนตอบคำถาม อาจจะเป็นคำสั้น ๆ หรือแบบมีตัวเลือกตอบ
- แสดงบทบาทสมมุติ
- เขียนตามคำบอกโดยให้นักเรียนดำเนินการกันเอง
- ให้นักเรียนตอบคำถาม อาจจะเป็นคำสั้น ๆ หรือแบบมีตัวเลือกตอบ
- แสดงบทบาทสมมุติ
- เขียนตามคำบอกโดยให้นักเรียนดำเนินการกันเอง
กลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการพูด
มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) ในเรื่องของเสียง คำศัพท์ ( Vocabulary) ไวยากรณ์ ( Grammar) กระสวนประโยค (Patterns) เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ
หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้เรียนระดับสูง
กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และ จะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น
เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูด คือ
การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว
- เทคนิควิธีปฏิบัติ
กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี 3 รูปแบบ คือ
1.1 การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ เช่น
พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill),พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation Drill), พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No Question-Answer Drill) พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้ (Sentence Building),พูดคำศัพท์ สำนวนในประโยคที่ถูกลบไปทีละส่วน (Rub out and Remember) ,พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering dialogues),พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting dialogue),พูดต่อเติมส่วนที่หายไปจากประโยค ( Completing Sentences ),พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก (Split Dictation)
1.2 การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ เช่น
- เทคนิควิธีปฏิบัติ
กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี 3 รูปแบบ คือ
1.1 การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ เช่น
พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill),พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation Drill), พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No Question-Answer Drill) พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้ (Sentence Building),พูดคำศัพท์ สำนวนในประโยคที่ถูกลบไปทีละส่วน (Rub out and Remember) ,พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering dialogues),พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting dialogue),พูดต่อเติมส่วนที่หายไปจากประโยค ( Completing Sentences ),พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก (Split Dictation)
1.2 การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ เช่น
พูดสร้างประโยคเปรียบเทียบโดยใช้รูปภาพ พูดสร้างประโยคจากภาพที่กำหนดให้ พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ
ในห้องเรียน
1.3 การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร (Communicative Drills) เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ เช่น
พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ( Situation),พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ( Imaginary Situation) ,พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด ( Describe and Draw)
1.3 การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร (Communicative Drills) เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ เช่น
พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ( Situation),พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ( Imaginary Situation) ,พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด ( Describe and Draw)
กลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2
ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading
aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading
) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง
ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย
เช่นเดียวกับการฟัง ต่าง กันที่
การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน
ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา
ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและ
มีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ
เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว
ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
(1) Basic Steps of Teaching
(BST) มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
-
ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
- ครูอ่านทีละประโยค /
นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
-
ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน (อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
- นักเรียนอ่านคนละประโยค
ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
- นักเรียนฝึกอ่านเอง
- สุ่มนักเรียนอ่าน
(2) Reading
for Fluency ( Chain Reading) คือ
เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป
เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่
(3) Reading and
Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน
อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ
อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
-
(4) Speed
Reading คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน
อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้
อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ
เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
-
(5) Reading
for Accuracy คือ
การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้งstress /
intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง
(Pronunciation)
1.2 การอ่านในใจ
ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง
โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม
คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน
( Pre-Reading)
- ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนาโต้ตอบระหว่างครูกับผู้เรียนหรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
- ขั้น Predicting เป็น
ขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน
2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน
หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ“ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน
ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
-
Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ
หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
-
Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ
ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง
หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
-
Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค
ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
การสอนทักษะเขียนภาษาอังกฤษ
การเขียน คือ
การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร
มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือ
ผู้อ่าน กระบวนการสอนทักษะการเขียน
ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้(Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less
Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด
เทคนิคการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ
(Writing Skill)
การฝึก ทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary)กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้
การฝึก ทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary)กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้
1. เทคนิควิธีปฏิบัติ
การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ
1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ
การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ
1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ
Copying
, Gap Filing ,Re-ordering Words, Changing forms of Certain
words , Substitution Tables ,
1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง
และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ
แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ เช่น Sentence Combining, Describing
People ,Questions and Answers Composition ,Parallel Writing ,Dictation
1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสรเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง
1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสรเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น