การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ (Listening Skill)
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง
ครูผู้สอน ควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
(Listening Skill)
การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน
2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening)
และการฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย (Focused
Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ
การรับรู้และทำความเข้าใจใน“สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา
ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง
ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร
จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
1.เทคนิควิธีปฏิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น
ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ
สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา
การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ
กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง (While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1)
กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ
ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง
โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท
ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น การใช้รูปภาพ
อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรืออภิปราย หรือ
หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์
อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก
โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้
หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่อง
อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด
เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง
และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฏอีกในสารที่จะได้รับฟัง
เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
2)
กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ
กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้นกิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง
แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ
เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูดมากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
- ฟังแล้วชี้รูปภาพ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของหรือ สถานที่รอบตัว
ภายในชั้นเรียน
ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น
ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ
ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย Xลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
- ฟังแล้วเรียงลำดับภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร
ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
-ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ
ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น
คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ
นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
- ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง
โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
- ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง
ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
ฟังแล้วแสดงบทบาท
ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค
หรือข้อความนั้น
- ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ
ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ
ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ
ตามที่ได้ฟัง
3)
กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening)
เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้วเช่น
อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว
เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์
ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง
โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง
หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
คุณค่าของการฟังคืออะไร
David
Pual (2004 : 71) ได้กล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่เด็กๆจะต้องฟังภาษาอังกฤษที่เหมาะกับระดับของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ภาษาควรจะง่ายสำหรับเด็กและอยู่ในระดับปัจจุบันหรือเหนือระดับที่เข้าใจได้แล้วเล็กน้อย
ถ้าระดับยากเกินไปเด็กอาจสูญเสียความมั่นใจและทัศนคติด้านบวกไปก็ได้ หากเด็กได้เรียนภาษาอังกฤษหลายครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยได้มากถ้าให้ทำแบบฝึกหัดการฟังอย่างสม่ำเสมอจากเทป
หรือครูผู้ให้ข้อมูลแบบฝึกหัดควรจัดระยะให้ห่างเท่าๆกันในบทต่างๆแทนที่จะทำพร้อมกันในชั่วโมงเรียนถ้าหากเรียนหนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์เราไม่ควรคาดหวังว่าความสามารถในการฟังของเด็กจะดีขึ้นมากจากการทำแบบฝึกหัดการฟังในชั้นเรียนที่สำคัญมากก็คือให้ทำแบบฝึกหัดการฟัง อย่างสม่ำเสมอในช่วงที่ไม่ได้เรียนเราอาจสนับสนุนให้เด็กและผู้ปกครองฟังเทปในรถที่บ้านหรือสนับสนุนให้เด็กดูวีดีทัศน์หรือใช้โปรแกรมภาษาอังกฤษ สิ่งที่อาจทำได้นั้นสิ่งหนึ่งขึ้นอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเด็กและเวลาที่เด็กทุ่มเทให้ภาษาอังกฤษ
แต่อย่างน้อยเราสามารถเน้นกับเด็กและผู้ปกครองว่าเด็กจะได้ประโยชน์อย่างสูงจากการได้ฟังภาษาอังกฤษมากๆ
ซึ่งไม่ได้หมายความว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้เทปในชั้นเพียงแต่เราไม่ควรคาดหวังว่าการฟังเทปหนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์จะทำให้ความสามารถในการฟังของเด็กดีขึ้นมากนัก
เทปยังมีประโยชน์มากในการทำให้ได้ยินเสียงของตัวละคร เสียงของเจ้าของภาษา
ที่ช่วยสร้างความหลากหลายในวิธีที่เด็กจะได้พบเป้าหมายทางภาษาให้แบบอย่างในการออกเสียงและช่วยแนะนำฝึกร้องเพลงอีกด้วย
การฟังเป็นความสามารถในการระบุและเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นจะพูด นี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจสำเนียงของผู้พูดหรือการออกเสียงของเขาไวยากรณ์และคำศัพท์ของเขาและโลภความหมายของเขา
(Howatt และ Dakin) เป็นผู้ฟังสามารถมีความสามารถในการดำเนินการเหล่านี้สี่สิ่งในเวลาเดียวกัน วิลลิส (1981:134) แสดงชุดของไมโครทักษะของการฟังเพลงที่เธอเรียกว่าการเปิดใช้ทักษะ การทำนายสิ่งที่คนจะไปพูดคุยเกี่ยวกับที่คาดเดาคำที่ไม่รู้จักหรือวลีโดยไม่ต้องตกใจ
ใช้ความรู้ของตัวเองหนึ่งของเรื่องที่จะช่วยให้คนเข้าใจการระบุจุดที่เกี่ยวข้อง; ปฏิเสธข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องที่ยังคงรักษาจุดที่เกี่ยวข้อง (จดบันทึกการสรุป) ตระหนักถึงเครื่องหมายของวาทกรรม
การตระหนักถึงอุปกรณ์เหนี่ยวความเข้าใจในรูปแบบที่แตกต่างกันกระแสเสียงและใช้ไปของความเครียด ฯลฯ
ซึ่งให้เบาะแสกับความหมายทางสังคมและการตั้งค่า
และเราสามารถแบ่งขั้นตอนการรับฟังเป็น 3 ขั้นตอน
1.Pre - ฟัง (วัตถุประสงค์จะต้องได้รับในขั้นตอนนี้),
2.During (ในขณะที่) ฟัง
3.Post ฟัง (การพูด)
2.During (ในขณะที่) ฟัง
3.Post ฟัง (การพูด)
วัตถุประสงค์ที่ควรจะอยู่ในกิจกรรมการฟังจะให้ / ให้ :
1.General (ความเข้าใจของจุดหลัก)
2.Specific (ความเข้าใจของรายการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง)
3.Cultural (โดยทั่วไปทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรมภาษาเป้าหมาย)
4.Information เกี่ยวกับทัศนคติของผู้คนและความคิดเห็น
5.The ของความคิด
6.Sequence ของเหตุการณ์
1.General (ความเข้าใจของจุดหลัก)
2.Specific (ความเข้าใจของรายการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง)
3.Cultural (โดยทั่วไปทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรมภาษาเป้าหมาย)
4.Information เกี่ยวกับทัศนคติของผู้คนและความคิดเห็น
5.The ของความคิด
6.Sequence ของเหตุการณ์
7.Lexical (คำแสดงเสียงรบกวน / การเคลื่อนไหว)
8.Structural (ใช้และความหมายของพวกเขา)
9.Functional (รูปแบบและการใช้งานของพวกเขา)
8.Structural (ใช้และความหมายของพวกเขา)
9.Functional (รูปแบบและการใช้งานของพวกเขา)
สามารถแบ่งการฟังเพื่อความเข้าใจที่เป็นสามขั้นตอน
1.Listening และทำให้การตอบสนอง
(ต่อไปนี้เป็นข้อความที่เขียนพูดคุยกับครูที่ไม่เป็นทางการ)ไม่มี
2.Listening และทำให้การตอบสนองที่สั้น (เชื่อฟังคำแนะนำ --. เคลื่อนไหวทางกายภาพอาคารโมเดล, คำสั่งรูปภาพ ฯลฯ ), การออกกำลังกายจริงเท็จข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงnoting, ฯลฯ
3.Listening และทำให้การตอบสนองอีกต่อไป (ซ้ำและคำสั่งการถอดความ, ตอบคำถาม, ตอบคำถามความเข้าใจเกี่ยวกับข้อความคาดการณ์ช่องว่างกรอกสรุป, ฯลฯ )
2.Listening และทำให้การตอบสนองที่สั้น (เชื่อฟังคำแนะนำ --. เคลื่อนไหวทางกายภาพอาคารโมเดล, คำสั่งรูปภาพ ฯลฯ ), การออกกำลังกายจริงเท็จข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงnoting, ฯลฯ
3.Listening และทำให้การตอบสนองอีกต่อไป (ซ้ำและคำสั่งการถอดความ, ตอบคำถาม, ตอบคำถามความเข้าใจเกี่ยวกับข้อความคาดการณ์ช่องว่างกรอกสรุป, ฯลฯ )
การสอนทักษะการฟังเป็นทักษะแรกที่มีความสำคัญสำหรับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารครูคือควบคุมดูแลกิจกรรมทุกอย่างให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กตื่นตัวสนใจในการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติมีความสุขในการเรียนรู้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญ
และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการไตร่ตรองเป็นส่วนสำคัญของความเป็นครูความสามารถของเด็กในการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถของครูในการสอนจะไม่พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
หากครูไม่มีโอกาสที่จะถอยไปข้างหลังและไตร่ตรอง บางทีการมองการสอนของเราว่าเป็นการ
ทดลองอย่างหนึ่งที่ต้องคอยตรวจสอบประเมิน ทบทวน
และปรับปรุงก็ช่วยในการพัฒนาการสอนของเราได้อย่างมากทีเดียว และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของทักษะการฟังมีดังนี้
1.เครื่องบันทึกเทปมีความสำคัญเท่าๆกับตัวเทปเอง
2. การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ
3. ฟังครั้งเดียวไม่พอ
4.ควรกระตุ้นให้นักเรียนตอบสนองต่อเนื้อหาของสิ่งที่ฟังด้วยไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงภาษาเท่านั้น
5.งานประกอบการฟังจะต้องแตกต่างกันไปตามลำดับขั้นตอนการฟังที่แตกต่างกัน
6.ครูที่ดีต้องใช้ประโยชน์จากเรื่องที่ให้นักเรียนฟังให้เต็มที่
และที่สำคัญคือกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการฟัง
กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการฟัง
1. การเขียนตามคำบอก
2. การเล่าเรื่อง
3. การสอนแบบตอบสนองด้วยการกระทำเท่านั้น (Total Physical Response/TRP)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น